เมนู

ทั้งเหตุว่า สมณะหรือพราหมณ์จักรู้ธรรมทั้งปวง จักเห็นธรรมทั้งปวง ใน
คราวเดียวเท่านั้น ไม่มี ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
วรรณะ 4 จำพวกนี้ คือกษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ วรรณะ 4 จำพวกนี้จะพึงมีความแปลกกัน จะพึงมีการกระทำต่างกัน
กระมังหนอ.
[576] พ. ดูก่อนมหาบพิตร วรรณะ 4 จำพวกนี้ คือ กษัตริย์
พราหมณ์ แพศย์ ศูทร ดูก่อนมหาบพิตร บรรดาวรรณะ 4 จำพวกนี้ วรรณะ
2 จำพวก คือ กษัตริย์และพราหมณ์ อาตมาภาพกล่าวว่าเป็นผู้เลิศ คือ เป็น
ที่กราบไหว้ เป็นที่ลุกรับ เป็นที่กระทำอัญชลี เป็นที่กระทำสามีจิกรรม ขอ
ถวายพระพร.
ป. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันมิได้ทูลถามถึงความแปลกกันใน
ปัจจุบันกะพระผู้มีพระภาคเจ้า หม่อมฉันทูลถามถึงความแปลกกันในสัมปราย-
ภพกะพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ วรรณะ 4 จำพวกนี้ คือ
กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ วรรณะ 4 จำพวก
นี้จะพึงมีความแปลกกัน จะพึงมีการกระทำต่างกันกระมังหนอ พระเจ้าข้า.

องค์แห่งภิกษุผู้มีความเพียร 5



[577] พ. ดูก่อนมหาบพิตร องค์แห่งภิกษุผู้มีความเพียร 5 ประ-
การนี้. 5 ประการเป็นไฉน. ดูก่อนมหาบพิตร
1. ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศรัทธา เธอพระปัญญาตรัสรู้ของ
พระตถาคตว่า แม้เพราะเหตุนี้ ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นเป็นพระ-
อรหันต์. . . เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกพระธรรม.

2. ภิกษุเป็นผู้มีอาพาธน้อย มีโรคเบาบาง ประกอบด้วยไฟธาตุ
สำหรับย่อยอาหารอันสม่ำเสมอ ไม่เย็นนัก ไม่ร้อนนัก เป็นปานกลาง ควร
แก่การทำความเพียร.
3. เป็นผู้ไม่โอ้อวด ไม่มีมายา เปิดเผยตนตามความเป็นจริงในพระ-
ศาสดา หรือในเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลายผู้เป็นวิญญู.
4. เป็นผู้ปรารภความเพียรเพื่อละอกุศลธรรม เพื่อยังกุศลธรรมให้
ถึงพร้อม เป็นผู้มีกำลัง มีความบากบั่นมั่นคงไม่ทอดธุระในกุศลธรรมทั้งหลาย.
5. เป็นผู้มีปัญญา ประกอบด้วยปัญญาเครื่องพิจารณาความเกิดและ
ความดับ เป็นอริยะ เป็นเครื่องชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ.
ดูก่อนมหาบพิตร องค์แห่งภิกษุผู้มีความเพียร 5 ประการนี้แล. ดู
ก่อนมหาบพิตร วรรณะ 4 จำพวกนี้ คือ กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร
ถ้าวรรณะ 4 จำพวกนั้น จะพึงเป็นผู้ประกอบด้วยองค์แห่งภิกษุผู้มีความเพียร
5 ประการนี้ ข้อนั้นก็จะพึงเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่วรรณะ
8 จำพวกนั้นตลอดกาลนาน ขอถวายพระพร.
[578] ป. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ วรรณะ 4 จำพวกนี้ คือ กษัตริย์
พราหมณ์ แพศย์ ศูทร ถ้าวรรณะ 4 จำพวกนั้น พึงเป็นผู้ประกอบด้วยองค์
แห่งภิกษุผู้มีความเพียร 5 ประการนี้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในข้อนี้ วรรณะ
4 จำพวกนั้น จะพึงมีความแปลกกัน จะมีการกระทำต่างกันหรือ พระเจ้าข้า.
พ. ดูก่อนมหาบพิตร ในข้อนี้ อาตมภาพกล่าวความต่างกันด้วย
ความเพียรแห่งวรรณะ 4 จำพวกนั้น ดูก่อนมหาบพิตร เปรียบเหมือนสัตว์คู่
หนึ่ง เป็นช้างที่ควรฝึกก็ตาม เป็นม้าที่ควรฝึกก็ตาม เป็นโคที่ควรฝึกก็ตาม
เขาฝึกดีแล้ว แนะนำดีแล้ว คู่หนึ่งไม่ได้ฝึก ไม่ได้แนะนำ ดูก่อนมหาบพิตร
มหาบพิตรจะทรงสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน สัตว์คู่หนึ่งเป็นช้างที่ควรฝึกก็ตาม

เป็นน้ำที่ควรฝึกก็ตาม เป็นโคที่ควรฝึกก็ตาม เขาฝึกดีแล้ว แนะนำดีแล้ว
สัตว์คู่หนึ่งที่เขาฝึกแล้วเท่านั้นพึงถึงเหตุของสัตว์ที่ฝึกแล้ว พึงยังภูมิของสัตว์ที่
ฝึกแล้วให้ถึงพร้อมมิใช่หรือ ขอถวายพระพร.
ป. อย่างนั้น พระเจ้าข้า.
พ. ดูก่อนมหาบพิตร ก็สัตว์คู่หนึ่งเป็นช้างที่ควรฝึกก็ตาม เป็นม้า
ที่ควรฝึกก็ตาม เป็นโคที่ควรฝึกก็ตาม เขาไม่ได้ฝึก ไม่ได้แนะนำ สัตว์คู่นั้น
ที่เขาไม่ได้ฝึกเลย จะพึงถึงเหตุของสัตว์ที่ฝึกแล้ว จะพึงยังภูมิของสัตว์ที่ฝึก
แล้วให้ถึงพร้อมเหมือนสัตว์คู่หนึ่ง เป็นช้างที่ควรฝึกก็ตาม เป็นม้าที่ควรฝึกก็
ตาม เป็นโคที่ควรฝึกก็ตาม ที่เขาฝึกดีแล้ว แนะนำดีแล้ว ฉะนั้นบ้างหรือไม่
ขอถวายพระพร.
ป. ไม่เป็นอย่างนั้นเลย พระเจ้าข้า.
พ. ดูก่อนมหาบพิตร ฉันนั้นเหมือนกันแล อิฐผลใดอันบุคคลผู้มี
ศรัทธา มีอาพาธน้อย ไม่โอ้อวด ไม่มีมายา ปรารภความเพียร มีปัญญา
พึงถึงอิฐผลนั้น บุคคลผู้ไม่มีศรัทธา มีอาพาธมาก โอ้อวด มีมายา เกียจ
คร้าน มีปัญญาทราม จักถึงได้ ดังนี้ ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ ขอถวาย
พระพร.
[579] ป. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสภาพอัน
เป็นเหตุและตรัสสภาพอันเป็นผลพร้อมกับเหตุ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ วรรณะ
4 จำพวกนี้ คือ กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร ถ้าวรรณะ 4 จำพวกเหล่า
นั้น พึงเป็นผู้ประกอบด้วยองค์แห่งภิกษุผู้มีความเพียร 5 ประการ นี้ และมี
ความเพียรชอบเหมือนกัน ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในข้อนี้ วรรณะ 4 จำพวก
นั้น พึงมีความแปลกกัน พึงมีการกระทำต่างกันหรือ พระเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนมหาบพิตร ในข้อนี้ อาตมภาพย่อมไม่กล่าวการกระทำต่าง
กันอย่างไร คือ วิมุตติกับวิมุตติ ของวรรณะ 4 จำพวกนั้นขอถวายพระพร.
ดูก่อนมหาบพิตร เปรียบเหมือนบุรุษเก็บเอาไม้สาละแห้งมาใส่ไฟ พึงก่อไฟ
ให้โพลงขึ้น ต่อมา บุรุษอีกคนหนึ่งเก็บเอาไม้มะม่วงแห้งมาใส่ไฟ พึงก่อไฟให้
โพลงขึ้นและภายหลังบุรุษอีกคนหนึ่งเก็บเอาไม้มะเดื่อแห้งมาใส่ไฟ พึงก่อไฟให้
โพลงขึ้น. ดูก่อนมหาบพิตร มหาบพิตรจะทรงสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
เปลวกับเปลว สีกับสีหรือแสงกับแสงของไฟที่เกิดขึ้นจากไม้ต่าง ๆ กันนั้น
จะพึงมีความแตกต่างกันอย่างไรหรือหนอ ขอถวายพระพร.
ป. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ไม่พึงมีความแตกต่างกันเลย พระเจ้าข้า.
พ. ดูก่อนมหาบพิตร ฉันนั้นเหมือนกันแล เดชอันใดอันความเพียร
ย่ำยีแล้วเกิดขึ้นด้วยความเพียร ในข้อนี้ อาตมภาพย่อมไม่กล่าวการกระทำต่าง
กันอย่างไรคือ วิมุตติกับวิมุตติ ขอถวายพระพร.

ปัญหาเรื่องเทวดา



[580] ป. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสภาพอัน
เป็นเหตุ และตรัสสภาพอันเป็นผลพร้อมกับเหตุ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็
เทวดามีจริงหรือ พระเจ้าข้า.
พ. ดูก่อนมหาบพิตร ก็เพราะเหตุอะไรมหาบพิตรจึงตรัสถามอย่างนี้
ว่าข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็เทวดามีจริงหรือ.
ป. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าเทวดามีจริง เทวดาเหล่านั้นมาสู่โลกนี้
หรือไม่มาสู่โลกนี้ พระเจ้าข้า.
พ. ดูก่อนมหาบพิตร เทวดาเหล่าใดมีทุกข์ เทวดาเหล่านั้น มาสู่
โลกนี้ เทวดาเหล่าใดไม่มีทุกข์ เทวดาเหล่านั้นไม่มาสู่โลกนี้ ขอถวายพระพร.